เผยแพร่เมื่อ/created date: 11 Sep 2011

หยีทะเล

Derris indica (Lamk.) Benn.
กายี ราโยด ปากี้ ปารี
FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
ทั่วไป ไม้ต้น สูง 5–20) ม. เรือนยอดค่อนข้างกลม ถึงแผ่เป็นพุ่มกว้าง ลำต้นมักคดงอและแตกกิ่งต่ำ เปลือกเรียบ สีเขียวแกมน้ำตาลเทาคล้ำ ผิวเปลือกในสีเขียว เปลือกชั้นในสีน้ำตาลอ่อนประขาว ใบ ประกอบรูปขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ก้านใบรวมแกนช่อใบยาว 10–15 ซม. ใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน 3 คู่ และที่ปลายก้านอีก 1 ใบ แผ่นใบย่อยรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ เรียงจากเล็กไปหาใหญ่ กว้าง 3–4.5 ซม. ยาว 5–12 ซม. ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้มกว่าด้านล่าง ปลายเรียวแหลม โคนสอบ เส้นแขนงใบย่อย 8–10 คู่ ดอก สีชมพู เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ผล ค่อนข้างแบน เบี้ยว รูปขอบขนาน ปลายแหลมโค้งลง กว้าง 2.5–3 ซม. ยาว 5–7.5 ซม. มี 1–2 เมล็ด
พบที่อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบตามฝั่งแม่น้ำใกล้ทะเล และในป่าชายหาดทาง
ปลูกเป็นไม้ประดับ

สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

-

7518 views

แสดงความเห็นและอภิปราย/discuss

   

Your E-mail:

Your Name: